“ประกันสังคม” ล้มละลาย จริงหรือไม่

จากกระแสข่าวที่มีการพูดถึง กองทุนประกันสังคม ว่าอีก 30 ปีข้างหน้าอาจล้มละลาย และที่ส่งผลอย่างร้ายแรงคือ ผู้ที่ส่งเงินเข้าระบบก็อาจจะไม่ได้เงินหลังเกษียณอายุอีกด้วย ประเด็นนี้กลายเป็นเป็นร้อนแรงและสร้างความสับสนแก่คนไทยและผู้ที่ส่งเงินเข้าสู่ระบบประกันสังคมอย่างยิ่ง เพราะส่งผลกระทบถึงความมั่นคงของชีวิตหลังเกษียณ โดยเฉพาะพนักงานเอกชนหรือพนักงานอิสระ ที่ต้องอาศัยเงินบำนาญในระบบประกันสังคมเป็นหลัก แต่ด้วยความเป็นกระแสร้อนแรงเรามาเจาะลึกรายระเอียดกันว่า มีที่มาที่ไปอย่างไร

ปัญหาของกองทุนประกันสังคม

จากการชี้แจงของโฆษกกระทรวงแรงงานว่า เมื่อปีพ.ศ.2564 เป็นปีที่เกิดการระบาดของ Covid-19 อย่างมากในประเทศไทย กองทุนประกันสังคมจึงมีความจำเป็นที่ต้องนำเงินออกมาช่วยเหลือให้แก่ผู้ที่ประกันตนผ่านโครงการที่รัฐบาลออกนโยบายมาอย่างเรงด่วน หลายปัญหา เช่น จ่ายเงินทดแทนผู้ที่ว่างงาน จ่ายประโยชน์ทดแทนกี่ผู้เจ็บป่วย รวมไปถึงการลดเงินสมทบผู้ประกันตน จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้มีรายจ่ายมากกว่ารายรับ อีกปัญหาหนึ่งคือมีหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญที่กองทุนประกันสังคมเผชิญติดต่อกันมาหลายปี ซึ่งเกิดจากการที่ไม่สามารถเรียกเก็บเงินจากนายบางรายได้ หรือนายจ้างไมส่งเงินประกันเข้ากองทุนประกันสังคม แม้กองทุนประกันสังคมจะมีเงินสะสมกว่า 1 ล้านล้านบาท แต่การจ่ายบำนาญชราภาพให้กับผู้ประกันตนวัยเกษียณ ก็มีเงินไหลออกกว่า 4 พันล้านไปแล้ว ด้านโฆษกยังคงขอให้คนไทยเชื่อมั่นว่า กองทุนประกันสังคมไม่มีทางที่จะล้มละลาย เพราะได้มีการดูแลและบริหารจัดการอย่างเหมาะสม และสามารถเพิ่มมูลค่าของการลงทุนของท่านในระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้มีเงินลงทุนสะสมเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่ากองทุนนี้มีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ผลลัพธ์นี้เป็นการสร้างความเชื่อมั่นในความเสถียรภาพและความมั่นคงของกองทุน

การคาดการณ์จากผู้เชี่ยวชาญ

ผู้เชี่ยวชาญหลายๆคนจึงอาจคาดการณ์จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นว่า หากประเทศไทยไม่เร่งแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ในอีก 12-30ปี ข้างหน้ากองทุนประทันสังคม จะต้องล้มละลายเป็นแน่ เนื่องจากมีภาระรายจ่ายสูงกว่าเกณฑ์ ประกอบกับสัดส่วนผู้สูงอายุที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และโครงสร้างเศรษกิจไทยนั้นยังคงพัฒนาไปได้ไม่มาก รวมถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่สหรัฐกำลังเผชิญอยู่

ประกันสังคม

แนวทางแก้ไข

การแก้ไขปัญหากองทุนประกันสังคมจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแก้ไขปฎิรูปแบบบูรณาการใหม่ในหลายๆเรื่อง ทั้งเรื่องค่าจ้าง อัตราจัดเก็บเงินสมทบ อายุการเกษียณ

1. ปรับอัตราจัดเก็บเงินสมทบ

การปรับขึ้นเงินสมทบกองทุนประกันสังคม เนื่องจากมีอัตราเงินสมทบจริงต่ำกว่าที่ควรจะเป็นค่อนข้างมาก การปรับเงินสมทบจะช่วยลดภาระทางการเงินให้กับทั้งลูกจ้าง นายจ้าง และภาครัฐ จะช่วยให้เงินกองทุนมีเพียงพอที่จะจ่ายสิทธิประโยชน์บำนาญได้เพิ่มขึ้นจาก

2. เร่งรัดหนี้ที่ค้างกองทุนประกันสังคม

การติดตามเร่งรัดหนี้สมทบเงินกองทุนที่มีการค้างชำระจากนายจ้างหรือผู้กอบการ ควรเร่งที่จะสร้างแรงจูงใจ หรือให้ส่วนลดหนี้สิน ในการชำระหนี้สินที่ค้างกับกองทุน

3. ลงทุนในความเสี่ยงที่สูงขึ้น

ซึ่งโดยปกติเงินกองทุนนั้นจะมีการลงทุนในหุ้นที่มีความเสี่ยงต่ำ จำนวนผลตอบแทนเองจึงไม่ได้สูงมากนัก หากมีการบริหารกองทุนให้มีการลงทุนในความเสี่ยงที่สูงขึ้น ก็จะได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้นตามไปด้วย

4. ปรับเกณฑ์อายุผู้มีสิทธิรับเงินบำนาญหรือขยายเกณฑ์เกษียณ

การปรับเกณฑ์อายุผู้มีสิทธิรับบำนาญจะช่วยชะลอการจ่ายเงินเกษียณอายุออกไปได้ หรืออีกทางหนึ่งขยายเกณฑ์เกษียณจะทำให้สามารถจัดเก็บเงินสมทบแก่ผู้ประกัน และเพิ่มอายุการทำงานมากยิ่งขึ้นด้วย

5. ลดการแทรกแทรงนโยบายของรัฐบาล

ลดการใช้นโยบายประชานิยม ที่รัฐบาลต้องใช้เงินกองทุนเพื่อเอาไปใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และควรมีความโปร่งใสที่สามารถตรวจสอบได้ทุกกระบวนการ หรือเปลี่ยนให้เป็นองค์กรอิสระที่ไม่ขึ้นตรงต่อนโยบายของรัฐ

ประกันสังคม
ปัญหาต่างๆที่กองทุนประกันสังคมกำลังพบเจออยู่ หากไม่มีการแก้ไขแบบเป็นรูปเป็นร่าง หรือบูรณาการขึ้นมาใหม่ ปัญหาเหล่านี้ก็ยังคงสะสมมากขึ้นไปเรื่อยๆ แต่หากไม่แก้ไขเลยนั้นอนาคตในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าอาจจะต้องล้มละลายอย่างที่ผู้เชี่ยวชาญหลายๆคนได้กล่าวเอาไว้เป็นแน่ ซึ่งทางเราก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าประเทศไทยจะเจริญก้าวหน้าไปได้ไกลกว่านี้ ไม่ใช่เพราะว่าไทยเราไม่มีทรัพยากรที่เพียงพอ แต่เรายังขาดการบริหารจัดการที่จะทำให้ทรัพยากรนั้นเกิดประโยชน์อย่างสูงสุด

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *